หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาแอนิเมชันและสื่อสร้างสรรค์

Bachelor of Science Program in Animation and Creative Media

สาขาวิชาแอนิเมชั่นและสื่อสร้างสรรค์

สาขาวิชาแอนิเมชันและสื่อสร้างสรรค์  มุ่งผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านการออกแบบและผลิตงานแอนิเมชันและดิจิทัลคอนเทนต์ ซึ่งเข้ามามีบทบาทต่อสังคมในยุคปัจจุบันเป็นอย่างมาก  โดยเน้นการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์ผสมผสานกับทักษะด้านการใช้เทคโนโลยีเพื่อการออกแบบและศิลปะ เพื่อผลิตและสร้างสรรค์ผลงานตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ที่กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง

Program Learning Outcomes (PLO)

ทักษะของนักออกแบบแอนิเมชันและสื่อสร้างสรรค์
1. Motiongraphic
2. Graphic Designer
3. Business Presentation
4. Character Design
5. Illustrator
6. Cartoon/Manga
ผลลัพท์การเรียนรู้ (Program Learning Outcome) รายวิชาที่สนับสนุน วิธีการวัดและประเมินผล
PLO 1 สามารถออกแบบสร้างงานแอนิเมชันและกราฟิกแบบมืออาชีพ
SLO : 1. มีความรู้เชิงหลักการ แนวคิด สามารถอธิบายแนวความคิด ทักษะการใช้เครื่องมือเบื้องต้น 2. สามารถประยุกต์การใช้งาน รูปภาพ การสร้างสรรค์ผลงานและการสื่อสารได้ หลักการออกแบบกราฟิก หลักการออกแบบแอนิเมชัน การออกแบบโมชันกราฟิก การศึกษาเฉพาะเรื่องทางเทคโนโลยีภาพเคลื่อนไหว โปรแกรมสร้างแอนิเมชัน 2 มิติ Formative Assessment : 1. ผลงานภาพกราฟิก 2. ผลงานแอนิเมชัน 3. ผลงานภาพถ่าย
Summative Assessment : 1.ผลงานการเข้าร่วมประกวดโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง 2. การประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ
GLO : 1. มีจรรยาบรรณของวิชาชีพ 2. มีทักษะในการสื่อสารด้วยภาพ
PLO 2 สามารถประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อการพัฒนาองค์การให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
SLO : 1. มีความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการโครงการ 2. สามารถประยุกต์ใช้โปรแกรมลวางแผนการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การบริหารจัดการโครงการทางด้านดิจิทัล เทคนิคการนำเสนองานมัลติมีเดีย เทคโนโลยีการออกแบบและผลิตงานมัลติมีเดีย Formative Assessment : 1. ผลงานภาพกราฟิก 2. ผลงานแอนิเมชัน 3. ผลงานภาพถ่าย
Summative Assessment : 1.ผลงานการเข้าร่วมประกวดโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง 2. การประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ
GLO : 1. มีทักษะการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์อย่างเป็นระบบ 2. สามารถเรียนรู้เทคโนโลยีในการผลิตงานมัลติมีเดียด้วยตนเองเพิ่มเติม
PLO 3 สามารถออกแบบตัวละคร ผลิตสร้างสรรค์ผลงานและงานภาพประกอบสำหรับสื่อสมัยใหม่ได้อย่างมืออาชีพ
SLO : 1. มีความรู้ความเข้าใจในทักษะการใช้โปรแกรมและการทำงาน 2. มีความคิดสร้างสรรค์เพื่อสร้างสรรค์ผลงาน โปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับงานกราฟิก ความคิดสร้างสรรค์ในงานดิจิทัล การออกแบบตัวละคร การออกแบบสตอรี่บอร์ด ความคิดสร้างสรรค์ในงานดิจิทัล Formative Assessment : 1. ผลงานภาพกราฟิก 2. ผลงานแอนิเมชัน 3. ผลงานภาพถ่าย
Summative Assessment : 1.ผลงานการเข้าร่วมประกวดโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง 2. การประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ
GLO : 1. มีทักษะการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ 2. มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับ